ได้แก่ งานทำบุญซึ่งปรารภเหตุ ที่ไม่เป็นมงคล เช่น ปรารภการตายของบิดา-มารดา ครู อาจารย์ หรือญาติมิตร เป็นต้น ทำบุญในงานฌาปนกิจบ้าง ๗ วัน ๕๐ วัน ๑๐๐ วันบ้าง ทำบุญ เนื่องในวันคล้ายวันตายบ้าง เพื่อให้เหตุร้ายกลายเป็นดี เพื่อบรรเทาความเศร้าโศก การทำบุญ ในกรณีเช่นนี้ มีพิธีนิยมส่วนมากดหมือนกับทำบุญในงานมงคล ดังกล่าวมานี้ แต่มีข้อต่างกัน บ้างดังต่อไปนี้
๑. จำนวนพระสงฆ์ที่นิมนต์สวดพระพุทธมนต์ เมื่อครบกำหนดวันทำบุญ นิยมนิมนต์พระ ๗ รูป ๑๐ รูปบ้าง ถ้าเป็นงานพระราชพิธี นิยทนิมาต์ ๑๐ รูปเป็นพื้น ส่วนพระอภิธรรมนิมนต์ ๔ รูปเป็นเกณฑ์ ถ้ามีบังสกุลหรือมีสวดอจง ไม่จำกัดจำนวนแน่นอน ตามกำลังศรัทธา ๑๐-๒๐- ๕๐-๑๐๐ หรือมากกว่านี้ก็มี แล้วแต่ฐานะทางเจ้าภาพแต่ส่วนมากนิยมนิมนต์เท่าอายุผู้ตาย บัง สกุลปากหีบ แปรธาตุไม่จำกัดจำนวน แต่แก่แปรธาตุนิยม ๔ รูป หรือ ๓ รูป ก็ได้
การเทศน์ในงานศพ นิยมมีพระสวดรับเทศน์นี้ด้วย ๔ รูป ไม่มีพระสวดรับก็ได้ส่วนพระ แสดงธรรมเทศน์อานิสงส์หรือเทศน์ปฐมสังคายนา หรือเทศน์เรื่องอื่นๆ นิยมรูปเดียวก็มี ๒-๓ รูปก็มี ตามฐานะเจ้าภาพ
๒. การสวดมนต์ ในงานอวมงคลนี้ ไม่ต้องตั้งบาตร หรือหม้อน้ำมนต์ ไม่ต้องวางด้ายสาย- สิญจน์ที่โต๊ะหมู่บูชา คงใช้แต่ผ้าภูษาโยง ถ้าไม่มีผ้าภูษาโยงจะใช้ด้ายสานสิญจน์แทนก็ได้ เรียก ว่าสายโยง โยงจากฝาหีบทางด้านศรีษะศพมาวางไว้บนพานใกล้โต๊ะหมู่บูชา หรือใกล้พระองค์ ประธาน
๓. เมื่อถึงเวลากำหนด พระสงฆ์เข้านั่งยังอาสน์สงฆ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ถ้าพระสวดอภิธรรม เจ้าภาพในงานพึ่งจุดธูป-เทียนก่อน ต่อมาจุดที่หน้าโต๊ะพระพุทธรูป แล้วจุดที่หน้าตู้พระธรรม ทีหลัง เสร็จแล้ว อาราธนาศีลต่อไป พระให้ศีลแล้ว ไม่ต้องอาราธนาธรรม แต่บางแห่งอาราธนา ธรรมก็มี
ถ้าสวดพระพุทธมนต์ เมื่อพระให้ศีลจบแล้ว ต้องอาราธนาพระปริตต์อย่างเดียว ต่อเมื่อพระ เทศน์ขึ้นธรรมมาสน์ ไม่ต้องอาราธนาด้วยวาจา เมื่อเจ้าภาพเห็นว่าได้เวลาตามที่กำหนด แล้วก็ จุดเทียนหน้าธรรมมาสน์ เรียกว่าจุดเทียนบูชาพระธรรม พระผู้แสดงธรรมที่จะขึ้นสู่ธรรมาสน์ โดยถือเป็นธรรมเนียมว่าการจุดเทียนหน้าธรรมาสน์ เป็นการอารธนาธรม มีธรรมเนียมอีกอย่าง หนึ่ง ซึ่งควรกำหนดไว้เป็นพิเษคือ เครื่องทองน้อยหน้าศพตามปกติ ถ้าเจ้าภาพตั้งไว้เพื่อเคารพ ศพ ตั้งเครื่องทองน้อยให้ดอกไม้หันเข้าหาศพธูปเทียนหันออกข้างหน้า หันธูป-เทียนเข้าหาศพ ทั้งนี้เพื่อให้ศพได้บูชาพระธรรมเทศนาด้วย และจุดเมื่อพระเริ่มเทศน์เท่านั้น หลังจากรับศีลแล้ว ถ้าไม่มีศพแต่เจ้าภาพมีความประสงฆ์ จะให้มีเทศน์ เพื่อระลึกถึงอุปการคุณ จะจุดเครื่องทอง น้อยตั้งไว้ข้างหน้าตนเองเพื่อบูชาพระธรรมก็ได้
๔. เมื่อพระสงฆ์สวดหรือเทศน์จบแล้ว เจ้าภาพพึงเก็บสิ่งของเครื่องกีดขวางออกให้หมด จัด สิ่งของที่จะถวายพระ เช่น ดอกไม้ธูปเทียน หรือสิ่งของอย่างอื่น นอกจากผ้าหรือใบปวารณา มาวางไว้ตรงหน้าพระ แล้วบอกญาติพี่น้องช่วยกันประเคน เสร็จแล้วคลี่ผ้าภูษาโยงหรือสายโยง วางราบไปทางหน้าพระสงฆ์ เอาผ้าหรือใบปวารณาแจกญาติพี่น้องนำมาทอดบนผ้าภูษาโยงนั้น ถ้ามีผ้าโดยมากมักเอาใบปวารณากลัดติดกับผ้านั้นรวมกัน การทอดผ้าหรือใบปวารณานี้ ควร ทอดขวางตัดกับผ้าภูษาโยง คือวางขวางบนผ้าภูษาโยงนั้นอย่าทอดไปตามทางยาวดูไม่งาม และ ควรทอดตามลำดับ พระเถระเสร็จแล้วนั่งประณมมือ จนกว่าพระสงฆ์จะพิจารณาบังสุกุลจนจบ แต่บางแห่งนิยมทอดผ้าก่อนถวายของก็มี ในราชการนิยมถวายของก่อน ทอดผ้าภายหลัง ยังถือ ปฎิบัติอยู่ในปัจจุบัน
๕. ถ้าสวดพระพุทธมนต์แล้วฉันเช้า หรือฉันเพลในวันนั้น การถวายสิ่งของและการทอดผ้า บังสุกุล ทำภายหลังจากฉันเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ถ้าสวดมนต์เย็นฉันเช้าหรือเพลในวันรุ่งขึ้น และมีผ้าไตรจีวรทอด ก็ควรทอดภายหลังพระสวดจบในเย็นวันนั้น เพื่อให้ท่านนุ่งห่มาฉลอง ศรัทธาในวันรุ่งขึ้นส่วนสิ่งของและใบปวารณานั้น เก็บไว้ถวายและทอดในวันรุ่งขึ้น ภายหลัง จากฉันเสร็จแล้ว
๖. สำหรับรายการพระสวดอภิธรรมตอนกลางคืนหรือพระเทศน์ พระสวดรับเทศน์ ถ้าเจ้าภาพ ประสงค์จะอาราธนาฉันในวันรุ่ขึ้นด้วยก็ได้ แต่สิ่งของและผ้าทอดบังสุกุลควรจัดการถวายและ ทอดให้เสร็จสิ้นในวันนั้น
๗. ในการฌาปนกิจศพ ก่อนที่จะถึงเวลาทำการฌาปนกิจศพเล็กน้อย นิยมมีการทอดผ้ามหาบัง- สุกุล หรือเรียกว่าบังสุกุลปากหีบ ในการเช่นนี้ โดยมากเจ้าภาพนิยมเชิญแขกผู้ใหญ่ที่มีเกียรติขึ้น ทอด และให้แขกผู้มีเกียรติสูงซึ่งจะเป็นผู้จุดเพลิงเป็นคนแรกนั้น เป็นคนทอดหลังสุดให้แขกผู้มี เกียรติรองลงมาทอดก่อน แขกผู้ทอดผ้าบังสุกุลนี้ให้ถือว่าเป็นแขกผู้มีเกียรติ ฉะนั้น ก่อนทอด และหลังทอดแล้ว การทำความเคารพศพทุกครั้ง จะต้องยืนคอยอยู่จนกว่าพระสงฆ์ขึ้นไป พิจารณา
ขณะที่พระสงฆ์กำลังพิจารณาอยู่นั้น ก็ควรประณมมือขึ้น การทอดไตรจีวรก่อนเผาศพนั้น ไม่ ควรมีมากเกินไป เพราะจะทำให้แขกที่มาร่วมในงานนั่งคอยนาน ควรใช้ประมาณ ๓ ไตรกำลัง พอดี
|