มังคะละสุตตัง

ตำนานของ มังคะละสุตตัง

        ในมงคลสูตรนี้ มีเนื้อความเริ่มต้นว่า หมู่มนุษย์ทั้งหลาย ในชมพูทวีป มาประชุมกันที่ประตูเมือง แล้วต่างก็พากันพูดคุยกันว่า สิ่งที่ตนนับถือเป็นมงคล ต่างฝ่ายต่างก็พากันถกเถียงกัน ในความเป็นมงคลของสรณะแห่งตน จนบังเกิดโกลาหล หาข้อยุติไม่ได้  พวกภุมเทวดา และเทพารักษ์ เมื่อได้ฟังพวกมนุษย์คิดและถกเถียงกัน ในข้อที่เป็นมงคล ก็พากันถกเถียงกันบ้าง จนเกิดโกลาหลรุกรามขึ้นไปจนถึงชั้นพรหม สิ้นเวลาไปจนถึง ๑๒ ปี ก็ยังไม่มีผู้ใดชี้เด็ดขาดลงไปได้ว่า สิ่งใดเป็นมงคล  จนร้อนถึง ท้าวสุทธาวาส มหาพรหม จึงได้ประกาศ แก่หมู่เทพและมนุษย์ทั้งหลายว่า นับแต่นี้ไปอีก ๑๒ ปี องค์พระบรมศาสดา สัมมาสัมพุทธเจ้า จักทรงตรัสแสดงมงคลทั้งหลาย ให้เราทั้งหลายฟัง ณ เชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี
       เมื่อกาลล่วงเลยมา สิ้นเวลาได้ ๑๒ ปี  พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เสด็จอุบัติในโลกนี้แล้ว  พวกเทวดาก็ต่างพากันไปถามปัญหาว่าอะไรเป็นมงคลแก่องค์อินทร์ องค์อินทร์ก็ไม่สามารถตอบปัญหาได้ จึงชวนกันไปเฝ้า พระบรมศาสดา เพื่อทูลถามปัญหา แล้วก็มอบหน้าที่ให้เทพยดาองค์หนึ่งเป็นผู้ถามปัญหา เมื่อความรู้ไปถึง เทพทุกชั้นฟ้า ต่างก็พากันเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา เพื่อสดับมงคลคาถา รวมเป็นมีจำนวนถึง ๑๐,๐๐๐ จักรวาล

 

บทสวด

       เอวัมเม สุตัง ฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม ฯ อะถะโข อัญญะตะรา เทวะตา อะภิกกันตายะ รัตติยา อะภิกกันตะวัณณา เกวะละกัปปัง เชตวะนัง โอภาเสตตะวา เยนะ ภะคะวา เตนุปะสังกะมิ อุปะสังกะมิตตะวา ภะคะวันตัง อะภิวาเทตตะวา เอกะมันตัง อัฎฐาสิ ฯ เอกะมันตัง ฐิตา โข สา เทวะตา ภะคะวันตัง คาถายะ อัชฌะภาสิ พะหุ เทวา มะนุสสา จะ มังคะลานิ อะจินตะยุง อากังขะมานา โสตถานัง พรูหิ มังคะละมุตตะตัง ฯ

อะเสวนา จะ พาลานัง ......
ปูชา จะ ปูชะนียานัง
ปะฏิรูปะเทสะวาโส จะ
อัตตะสัมมาปะณิธิ จะ
พาหุสัจจัญจะ สิปปัญจะ
สุภาสิตา จะ ยา วาจา
มาตาปิตุอุปัฏฐานัง
อะนากุลา จะ กัมมันตา
ทานัญจะ ธัมมะจะริยา จะ
อะนะวัชชานิ กัมมานิ
อาระตี วิระตี ปาปา
อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ
คาระโว จะ นิวาโต จะ
กาเลนะ ธัมมัสสะวะนัง
ขันตี จะ โสวะจัสสะตา
กาเลนะ ธัมมะสากัจฉา
ตะโป จะ พรัหมะจะริยัญจะ
นิพพานะสัจฉิกิริยา จะ
ผุฏฐัสสะ โลกะธัมเมหิ
อะโสกัง วิระชัง เขมัง
เอตาทิสานิ กัตวานะ
สัพพัตถะ โสตถิง คัจฉันติ

ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา
เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
ปุพเพ จ กะตะปุญญะตา
เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
วินะโย จะ สุสิกขิโต
เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
ปุตตะทารัสสะ สังคะโห
เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
ญาตะกานัญจะ สังคะโห
เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
มัชชะปานา จะ สัญญะโม
เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
สันตุฏฐี จะ กะตัญญุตา
เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
สะมะณานัญจะ ทัสสะนัง
เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
อะริยะสัจจานะ ทัสสะนัง
เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะติ
เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
สัพพัตถะมะปะราชิตา
ตันเตสัง มังคะละมุตตะมันติฯ

คำแปล

       ข้าพเจ้า ( คือ พระอานนทเถระ ) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จประทับอยู่ที่พระเชตวันวิหารอารามของอนาถบิณฑกเศรษฐี ใกล้เมืองสาวัตถี ครั้งนั้นแล เทพดาองค์ใดองหนึ่ง ครั้นเมื่อราตรีปฐมยามล่วงไปแล้ว มีรัศมีอันงามยิ่งนัก ยังพระเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จประทับอยู่โดยที่ใด ก็เข้าไปเฝ้าโดยที่นั้น ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว จึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วได้ยืนอยู่ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นเทพยดานั้นยืนอยู่ในที่ีสมควร ส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า 
หมู่เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก ผู้หวังความสวัสดี ได้คิดหามงคลทั้งหลาย ขอพระองค์จงทรงเทศนามงคลอันสูงสุด. 
ความไม่คบคลพาลทั้งหลาย ๑ ความคบบัณฑิตทั้งหลาย ๑ 
ความบูชาชนที่ควรปูชาทั้งหลาย ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด.
ความอยู่ในประเทศอันสมควร ๑ 
ความเป็นผู้มีบุญอันทำแล้วในกาลก่อน ๑
ความตั้งตนไว้ชอบ ๑ ข้อนี้เป็นมงคลสูงสุด.
ความได้ฟังแล้วมาก ๑ ศิลปศาสตร์ ๑ 
วินัยอันชนศึกษาดีแล้ว ๑
วาจาอันชนกล่าวดีแล้ว ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด.
ความบำรุงมารดาและบิดา ๑ ความสงเคราะห์ลูกและเมีย ๑ 
การงานทั้งหลายอันไม่อากูล ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด.
ความให้ ๑ ความประพฤติธรรม ๑ 
ความสงเคราะห์ญาติทั้งหลาย ๑
กรรมทั้งหลายอันไม่มีโทษ ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด.
ความงดเว้นจากบาป ๑ ความสำรวมจากการดื่มน้ำเมา ๑ 
ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด.
ความเคารพ ๑ ความไม่จองหอง ๑ ความยินดีด้วยของอันมีอยู่ ๑ 
ความเป็นผู้รู้อุปการะอันท่านทำแล้วแก่ตน ๑
ความฟังธรรมโดยกาล ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด.
ความอดทน ๑ ความเป็นผู้ว่าง่าย ๑ 
ความเห็นสมณะทั้งหลาย ๑
ความเจรจาธรรมโดยกาล ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด.
ความเพียรเผากิเลส ๑ ความประพฤติอย่างพรหม ๑ 
ความเห็นอริยสัจทั้งหลาย ๑ ความทำพระนิพพานให้แจ้ง ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด....
จิตของผู้ใดอันโลกธรรมทั้งหลายถูกต้องแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว 
ไม่มีโศก ปราศจากธุลี เกษม ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด  เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย กระทำมงคลทั้งหลาย เช่นนี้แล้ว 
เป็นผู้ไม่พ้ายแพ้ในที่ทั้งปวง ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทั้งปวง ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด ของเทพยดาและมนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้นแล.


Visitors: 108,510