ธัมมะจักกัปปะวัตตะนะสุตตัง ธรรมกัณฑ์แรกของโลก

 

ตำนานของ ธัมมะจักกัปปะวัตตะนะสูตร

       ในวันเพ็ญเดือน ๘ (อาสาฬหบูชา) ก่อนพุทธศักราช ๒๕๐๐ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระสูตรนี้ แก่นักบวชปัญจวัคคีย์ (นักบวช ๕ รูป) ท่านอัญญาโกณฑัญญะให้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว ท่านอัญญาโกณฑัญญะ ได้กราบทูลขออุปสมบทต่อพระศาสดา พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประทาน"เอหิภิกขุอุปสัมปทา** "เป็นสงฆ์สาวกองค์แรก ในพระพุทธศาสนา แล้วประทับจำพรรษาแรก ณ.ป่าอิสิปตนมฤคทายวันนั้นเอง (ในการแสดงพระธรรมเทศนาครั้งแรกนี้ มีพรหม ๑๘ โกฏิ กับเทวดาจำนวนมากที่ได้บรรลุธรรมด้วยพระสูตรนี้) พระพุทธองค์ทรงคัดค้านการปฏิบัติที่ทรมานตนให้ลำบาก(อัตตกิลมถานุโยค) และการเสพกามสุข(กามสุขัลลิกานุโยค) ทรงชี้แนะทางสายกลาง คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ และทรงจำแนกอริยสัจ ๔ ไว้โดยละเอียดในพระสูตรนี้ "อัตตกิลมถานุโยค" เป็นคำสอนของ นิครนถ์นาฏบุตร ผู้ก่อตั้งศาสนาเชนในปัจจุบัน โดยศาสนานั้นเชื่อว่า การบำเพ็ญตบะทรมานตน เป็นวิธีปลดเปลื้องวิญญาณจากกรรมเก่า คือ เมื่อกรรมเก่าถูกปลดเปลื้อง ด้วยการบำเพ็ญตบะแล้ว ก็จะหมดสิ้นไป ไม่ส่งผลให้เวียนว่ายตาย เกิดอีก ส่วน"กามสุขัลลิกานุโยค" เป็นความเห็นของคนที่เชื่อว่า นิพพาน คือกามสุขในปัจจุบัน เมื่อสัตว์ตายแล้วก็ดับสูญ ความเห็นนี้นับเนื่องในมิจฉาทิฏฐิ ๖๒ เรียกว่า "ทิฏฐธัมมนิพพาน" (นิพพานในปัจจุบันชาติ) กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ "ลักธิจารวาก"นั่นเอง ผู้ที่มีความเห็นเช่นนี้ ย่อมจะชอบเสพกามสุข ทางประสาทสัมผัสอย่างเดียว ไม่สนใจการอบรมจิตเจริญปัญญา เพื่อความพ้นทุกข์ จากการเวียนตาย เวียนเกิด เจ้าชายสิทธัตถะได้ทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยา เพราะประสงค์จะทดลองแนวทางนี้ว่า เป็นทางตรัสรู้หรือไม่ มิใช่ทรงปฏิบัติเพื่อปลดเปลื้องกรรมเก่า ตามคำสอนของนิครนถ์นาฏบุตร และเมื่อพระองค์ทรงพบว่ามิใช่ทางตรัสรู้ จึงระลึกถึงการเจริญอานาปานกรรมฐานใต้ต้นหว้าในพิธีแรกนาขวัญ ครั้นทรงเจริญกรรมฐานนั้น จนบรรลุฌาณ ๔ แล้ว ทรงอาศัยฌาณเป็นบาท เจริญวิปัสสนาจึงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณด้วยมัชฌิมาปฏิปทา คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ คำว่า "ธรรมจักร" มีความหมายว่า "กงล้อ คือ พระธรรม" ในพระสูตรนี้ พระพุทธองค์ทรงประกาศศาสนาพุทธว่าเป็น"อเทวนิยม" ที่ไม่เชื่อการเนรมิตรของพระเจ้า ด้วยการตรัสรู้เหตุแห่งทุกข์(สมุทัยสัจ)ว่า คือ ตัณหา ทั้งปฏิเสธอาตมัน(ตัวตน) หรือวิญญาณ ด้วยการตรัสทุกขสัจว่า คือ อุปาทานขันธ์ ๕ ทรงแสดงแนวทางแห่งความพ้นทุกข์(มรรคสัจ) คือ มรรคมีองค์ ๘ และตรัสผลของการปฏิบัติ(นิโรธสัจ)ว่า คือ ความดับตัณหา

       ในอรรถกถา อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต หน้า ๒๕๗ กล่าวว่า ปัญจวัคคีย์ได้บรรลุธรรมชั้นโสดาบัน วันละหนึ่งท่านตามลำดับคือ ในวันแรม ๑ ค่ำ ท่านวัปปะ, ในวันแรม ๒ ค่ำ ท่านภัททิยะ, ในวันแรม ๓ ค่ำ ท่านมหานามะ, ในวันแรม ๔ ค่ำ ท่านอัสสชิ, ครั้นวันแรม ๕ ค่ำ พระศาสดาทรงแสดง "อนัตตลักขณสูตร" พระปัญจวัคคีย์ทั้งหมด ได้บรรลุพระอรหัตตผล.


บทสวด ธัมมะจักกัปปะวัตตะนะสุตตัง

..........เอวัมเม สุตังฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา พาราณะสิยัง วิหะระติ
อิสิปะตะเน มิคะทาเย ตัตระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู
อามันเตสิ ฯ
..........เทวเม ภิกขะเว อันตา ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา โย จายัง
กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค หีโน คัมโม โปถุชชะนิโก อะนะริโย
อะนัตถะสัญหิโต โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโค ทุกโข อะนะริโย
อะนัตถะสัญหิโต ฯ
..........เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนุปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา
ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ
อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติฯ
..........กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถา คะเตนะ
อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ
อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
..........อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ เสยยะถีทัง ฯ สัมมา-
ทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมา-
วายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ ฯ
..........อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ
อะภิ สัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ
สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
..........อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยัะสัจจัง ชาติปิ ทุกขา
ชะราปิ ทุกขา มะระณัมปิ ทุกขัง โสกะปะริเทวะ ทุกขะโทมะนัสสุปายา-
สาปิ ทุกขา อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข
ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา
ทุกขา ฯ
..........อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุมะโย อะริยะสัจจัง ฯ ยายัง
ตัณหา โปโนพภะวิกา นันทิราคะสะหะคะตา ตัตระ ตัตราภิ นันทินี ฯ
เสยยะถีทัง ฯ กามะตัณหา ภะวะตัณหา วิภะวะตัณหา ฯ
..........อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจังฯ โย
ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะ นิโรโธ จาโค ปะฏินิสสัคโค มุตติ
อะนาละโย ฯ
..........อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา
อะริยะ สัจจัง ฯ
..........อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ เสยยะถีทัง ฯ สัมมา-
ทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมา อาชีโว สัมมา-
วายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ ฯ
..........อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ
ธัมเมสุ จักขุง อุทพปาทิ ญาณัง อุทะปาทิปัญญา อุทะปาทิ วิชชา
อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
..........ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา
อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ
..........ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา
อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ
..........อิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะ-
นุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ
วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
..........ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทมะโย อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ
เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง
อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
..........ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทมะโย อะริยะสัจจัง ปะหีนันติ เม
ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง
อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
..........อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะ-
นุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ
วิชชา อุทะปาทิ อาโลโกอุทะปาทิ ฯ
..........ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจจิกาตัพพันติ เม
ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง
อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
..........ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจจิกะตันติ เม
ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะ-
ปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
..........อิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา
อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ
..........ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริสัจจัง
ภาเวตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ
ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
..........ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง
ภาวิตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ
ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
..........ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติ-
ปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง
อะโหสิ ฯ
..........เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะ-
เก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุต
ตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ
..........ยะโต จะ โข เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติ-
ปะริวัฏฏัง ท์วาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง
อะโหสิ ฯ
..........อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก
สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะ มะนุสสายะ อะนุตตะรัง
สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ
..........ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง ปุทะปาทิ อะกุปปา เม
วิมุตติ อะยะมันติมา ชาติ นัตถิทานิ ปุนัพภะโวติ ฯ
..........อิทะมะโว จะ ภะคะวาฯ อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิขู
ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง ฯ อิมัสมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัส์มิง
ภัญญะมาเน อายัส์มะโต โกณฑัญญัสสะ วิระชัง วีตะมะลัง
ธัมมะจักขุง อุทะปาทิ ยังกิญจิ สุมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง
นิโรธะธัมมันติ ฯ
..........ปะวัตติเต จะ ภะคะวะตา ธัมมะจักเก ภุมมา เทวา สัททะ-
มะนุสสาเวสุง เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยังบ อิสิปะตะเน มิคะทาเย
อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ
วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา
เกนะจิ วา โลกัส์มินติ ฯ
..........ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุต์วา
..........จาตุมมะหาราชิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯจาตุมมะหา-
ราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุต์วา
..........ตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ตาวะติงสานัง
เทวานัง สัททัง สุต์วา
..........ยามา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ยามานัง เทวานัง สัททัง
สุต์วา
..........ตุสิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ตุสิตานัง เทวานัง สัททัง
สุต์วา
..........นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ นิมมานะระตีนัง
เทวานัง สัททัง สุต์วา
..........ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ปะระ-
นิมมิตะวะสะวัตตีนัง เทวานัง สัททัง สุต์วา ( เมื่อจะสวดย่อเพียงสวรรค์
๖ ชั้น ครั้นสวดมาถึงตรงนี้แส้วสวด พรัหมะกายิกา เทวา สัททะมะนุส-
สะเวสุง แล้วลง เอตัมภะคะวะตา พาราณัสิยัง อิสิปะตะเน
มิคะทาเย ฯลฯ เหมือนกันไปจนจบ ) พรัหมะปาริสัชชา เทวา
สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ พรัหมะปาริสัชชานัง เทวานัง สัททัง สุต์วา
..........พรัหมะปะโรหิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ พรัหมะปะ
โรหิตานัง เทวานัง สัททัง สุต์วา
..........มะหาพรัหมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ มะหาพรัหมานัง
เทวานัง สัททัง สุต์วา
..........ปะริตตาภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ปะริตตาภานัง เทวานัง
สัททัง สุต์วา
..........อัปปะมาณาภา เทวา สัททะมะนุสสา เวสุง ฯ อัปปะมาณาภานัง
เทวานัง สัททัง สุต์วา
..........อาภัสสะรา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ อาภัสสะรานัง เทวานัง
สัททัง สุต์วา
..........ปะริตตะสุภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ปะริตตะสุภานัง
เทวานัง สัททัง สุต์วา
..........อัปปะมาณะสุภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ อัปปะมาณะ-
สุภานัง เทวานัง สัททัง สุต์วา
..........สุภะกิณหะกา เทวา สัททะ มะนุสสาเวสุง ฯ สุภะกิณหะกานัง
เทวานัง สัททัง สุต์วา
..........เวหัปผะลา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ เวหัปผะลานัง
เทวานัง สัททัง สุต์วา
..........อะวิหา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ อะวิหานัง เทวานัง
สัททัง สุต์วา
..........อะตัปปา เทวา สัททะมะนุสสา เวสุง ฯ อะตัปปานัง เทวานัง
สัททัง สุต์วา
..........สุทัสสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ สุทัสสานัง เทวานัง
สัททัง สุต์วา
..........สุทัสสี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ สุทัสสีนัง เทวานัง
สัททัง สุต์วา
..........อะกะนิฏฐะกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
..........เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย
อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิ วัตติยัง สะมะเณนะ
วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา
เกนะจิ วา โลกัสมินติ ฯ
..........อิติหะ เตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตเตนะ ยาวะ พรัหมะโลกา
สัทโท อัพภุคคัจฉิฯ อะยัญจะ ทะสะสะหัสสี โลกะธาตุ สังกัมปิ
สัมปะกัมปิ สัมปะเวธิฯ อัปปะมาโณ จะ โอฬาโร โอภาโส โลเก
ปาตุระโหสิ อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวัง ฯ
..........อะถะโข ภะคะวา อุทานัง อุทาเนสิ อัญญาสิ วะตะ โภ
โกณฑัญโญ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญติ ฯ
..........อิติหิทัง อายัส์มะโต โกณฑัญญัสสะ อัญญาโกณฑัญโญ เตว์วะ
นามัง อะโหสีติ ฯ


คำแปล

       ข้าพเจ้าได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า ในสมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับยับยั้งอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันใกล้เมืองพาราณสี ฯ  ในกาลครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเตือนสติเหล่าภิกษุปัญจวัคคีย์ให้ตั้งใจฟังและพิจารณาตามพระดำรัสของพระองค์อย่างนี้ว่า ฯ 
       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรพชิตไม่ควรปฏิบัติให้หนักไปในส่วนที่สุด ๒ อย่าง คือ การประพฤติปฏิบัติตนเพื่อแสวงหาความสุขอยู่ใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่น่ารักน่าปรารถนา ซึ่งเป็นธรรมอันเลว เป็นเหตุให้ต้องมีบ้านเรือน เป็นธรรมของคนผุ้ครองเรือนผู้หนาไปด้วยกิเลส ไม่ใธรรมอันจะนำจิตใจออกจากกิเลส ไม่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติเพื่อให้จิตหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลาย นี่อย่างหนึ่ง และอีกอย่างหนึ่ง คือ การประพฤติปฏิบัติด้วยการทรมานร่างกายให้ได้รับความลำบาก ซึ่งมีแต่ทำให้ใจเป็นทุกข์ทรมานอย่างเดียว ไม่เป็นทางนำจิตใจออกจากกิเลส และไม่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติเพื่อให้จิตหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจท้งหลาย ฯ (หรืออีกนัยหนึ่งคือ เร่งหักโหมปฏิบัติธรรมจนเกินกำลัง เพื่อหวังจะได้บรรลุมรรคผลเร็ว ๆ ) 
       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตได้รู้ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง โดยไม่เข้าไปใกล้ส่วนที่สุด ๒ อย่างนั้นแล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนั้น สามารถทำดวงตาคือ ปัญญา ทำญาณเครื่องรู้ ให้เป็นไปเพื่อใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี และเพื่อทำให้กิเลสดับไปจากจิตคือเข้าสู่พระนิพพาน ฯ 
       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง ซึ่งสามารถทำดวงตาคือ ปัญญา ทำญาณเครื่องรู้ ให้เป็นไปเพื่อใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี และเพื่อให้กิเลสดับไปจากจิตคือเข้าสู่พระนิพพาน ที่ตถาคตรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่งนั้น คือการปฏิบัติอย่างไร? ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนี้ คือ ทางนำไปสู่ความไกลจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลาย มี ๘ อย่าง ฯ 
ข้อปฏิบัติเหล่านี้คือ 
ปัญญาอันเห็นชอบ ( คือ เห็นอริยสัจ ) 
ความดำริชอบ ( คิดจะออกจากกาม ไม่คิดอาฆาตพยาบาท ไม่คิดเบียดเบียน ) 
วาจาชอบ ( ไม่พูดโกหก ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดคำส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล ) 
การงานชอบ ( เว้นจากการทุจริต เช่น โกงแรงงานเขาเป็นต้น และทำการงานที่ไม่มีโทษ ) 
การเลี้ยงชีวิตชอบ ( หากินโดยไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดศีล ไม่ผิดธรรม ไม่ผิดประเพณี ) 
ความเพียรชอบ ( เพียรละชั่ว ประพฤติดีเพื่อให้มีคุณธรรมประจำใจ และเพื่อให้ได้คุณธรรมสูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป ) 
การระลึกชอบ ( ระลึกนึกถึง อนุสสติ ๑๐ ประการ มีพระนิพพานเป็นที่สุด และระลึกในมหาสติปัฏฐาน ๔ ) 
การตั้งจิตไว้ชอบ ( การทำสมาธิให้อารมณ์ตั้งมั่นในอนุสสติ ๑๐ ประการนั้น ) ฯ  ( หรือกล่าวโดยย่อ มรรค ๘ ประการนี้ก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา )
       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางเหล่านี้แล คือ ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง ซึ่งสามารถทำดวงตาคือ ปัญญา ทำญาณเครื่องรู้ ให้เป็นไปเพื่อใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี และเพื่อทำให้กิเลสดับไปจากจิตคือเข้าสู่พระนิพพาน ที่ตถาคตรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ 
       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สภาวะเหล่านี้แลเป็นตัวทุกข์อย่าง
ความเกิดก็เป็นทุกข์ 
เมื่อความแก่เข้ามาถึง ก็เป็นทุกข์ 
เมื่อความตายเข้ามาถึง ก็เป็นทุกข์ 
เมื่อความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน ความเสียใจ และความคับแค้นใจเกิดขึ้นมา ก็เป็นทุกข์ 
เมื่อประสบพบกับสิ่งที่ไม่ชอบใจ ก็เป็นทุกข์ 
เมื่อพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่ชอบใจก็เป็นทุกข์  และแม้คิดปรารถนาอยากได้สิ่งใด แต่ไม่ได้สิ่งนั้นสมปรารถนา ก็เป็นทุกข์ กล่าวโดยย่อแล้วก็คือ การหลงคิดว่าร่างกายเป็นของเราของเขานั่นแล เป็นตัวทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริง ฯ 
       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจนี้แลเป็นต้นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริง คือ มีความอยากเวียนว่ายตายเกิดอยู่ร่ำไป และมีความกำหนัดยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่น่าปรารถนา ก็เป็นเหตุให้ใจเกิดทุกข์ สิ่งใดที่ยังไม่มี ก็คิดอยากจะให้มีขึ้นมา อย่างนี้ก็ทำให้ใจเกิดทุกข์ และเมื่อมีทุกอย่างสมปรารถนาแล้ว ก็อยากจะให้ทุกอย่างคงทนอยู่ตลอดไป เมื่อมันจะต้องสลายหายไป ก็ร้อนใจไม่อยากให้เป็นเช่นนั้น อย่างนี้ก็ยิ่งทำให้ใจเกิดทุกข์หนักขึ้นอีก ฯ 
       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การดับตัณหาความอยากให้หมดไปจากใจด้วยการ ละ วาง ปล่อย และไม่คิดยินดีพัวพันอยู่กับตัณหาความอยากนั้นอีกเด็ดขาด คือ การดับทุกข์ให้หมดไปจากใจได้อย่างแท้จริง ฯ 
       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติเพื่อนำกิเลสให้หมดไปจากใจนี้ มี ๘ อย่าง คือ ปัญญาเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความเพียรชอบ การระลึกชอบ และการตั้งจิตไว้ชอบ คือ ข้อปฏิบัติเพื่อนำใจให้หมดจากกิเลสและดับความ
       ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ดวงตาคือ ปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราอย่างนี้ว่า "ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน ความเสียใจ และความคับแค้นใจ เป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริง" ฯ 
       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เหล่านี้เป็นต้น อันเป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริงนั้นแล เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ตลอดเวลา" ฯ 
       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือ ปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้งและความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เหล่านี้เป็นต้น อันเป็นตัวทุกข์อย่งแท้จริงนี้นั้นแล เราได้หยั่งรู้ด้วยปัญญาโดยตลอดแล้ว" ฯ 
       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่างในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจนี้ เป็นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริง" ฯ 
       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจ อันเป็นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เป็นสิ่งที่ต้องละให้ขาด" ฯ
       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจ อันเป็นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เราได้ละขาดไปจากใจแล้ว" ฯ 
       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "การดับตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดนี้ให้หมดไปจากใจ คือ การดับทุกข์ได้อย่างแท้จริง" ฯ 
       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "การดับตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดนี้ให้หมดไปจากใจ คือ การดับทุกข์ได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เป็นสิ่งที่ต้องทำให้แจ้งในใจตลอดเวลา" ฯ 
       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "การดับตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดนี้ให้หมดไปจากใจ คือ การดับทุกข์ได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เราได้ทำให้แจ้งในใจอยู่ตลอดเวลาแล้ว" ฯ 
       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "มรรคคือทาง ๘ ประการ เป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริง" ฯ 
       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "มรรคคือทาง ๘ ประการ อันเป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เป็นธรรมที่ต้องทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลา" ฯ 
       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "มรรคคือทาง ๘ ประการ อันเป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เราได้ทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลาแล้ว" ฯ 
       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความจริง ๔ อย่าง อันทำให้ใจห่างไกลจากกิเลสนี้ ถ้าหากเรายังไม่รู้เห็นตามความเป็นจริง โดยอาการหมุนเวียนแห่งปัญญาญาณ ครบ ๓ รอบทั้ง ๔ อย่าง รวมเป็นอาการ ๑๒ รอบ  ( อาการ ๑๒ รอบนี้ เรียกว่า ญาณ ๓ คือ
1. สัจจญาณ : การหยั่งรู้ให้ทราบชัดในความจริงแต่ละอย่างในความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ว่าเป็นทุกข์แท้จริง , ตัณหาคือเหตุเกิดทุกข์แท้จริง , การดับตัณหาคือการดับทุกข์ได้แท้จริง , มรรคคือ ทาง ๘ ประการเป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริง 
2. กิจจญาณ : การหยั่งรู้ให้ทราบชัดว่า จะต้องทำอย่งไรกับความจริงแต่ละอย่างนั้น ว่า ตัวทุกข์ควรต้องกำหนดรู้ตลอดเวลา , ตัณหาต้องละให้ขาด , การดับตัณหาเป็นสิ่งที่ต้องทำให้แจ้งในใจตลอดเวลา , มรรค ๘ เป็นธรรมที่ต้องทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลา และ
3. กตญาณ : การหยั่งรู้ว่าได้ทำหน้าที่ทุกอย่างในความจริงแต่ละอย่างนั้นได้โดยบริบูรณ์แล้ว คือ ทุกข์รู้ด้วยปัญญาโดยตลอดแล้ว , ตัณหาได้ละขาดไปจากใจแล้ว , การดับตัณหาได้ทำให้แจ้งในใจตลอดเวลาแล้ว , มรรค ๘ ได้ทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลาแล้ว ) 
       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล้าประกาศยืนยันแก่มนุษยโลก ตลอดถึงเทวโลก มารโลก พรหมโลก รวมทั้งหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ให้ได้รู้เพียงนั้น ว่าเราได้ตรัสรู้พร้อมยิ่งซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้โดยชอบอันยอดเยี่ยม ซึ่งไม่มีความตรัสรู้อื่นในโลกใด ๆ หรือ ของใคร ๆ จะเทียบได้ ฯ 
       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ความจริง ๔ อย่ง อันทำให้ใจห่างไกลจากกิเลสนี้ เราได้รู้เห็นตามความเป็นจริง โดยอาการหมุนเวียนแห่งปัญญาญาณ ครบ ๓ รอบทั้ง ๔ อย่าง รวมเป็นอาการ ๑๒ รอบ ด้วยปัญญาอันบริสุทธิ์หมดจดแล้ว ฯ 
       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น เราจึงกล้าประกาศยืนยันแก่มนุษยโลก ตลอดถึงเทวโลก มารโลก พรหมโลก รวมทั้งหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ให้ได้รู้เฉพาะว่า เราได้ตรัสรู้พร้อมยิ่งซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้โดยชอบอันยอดเยี่ยม ซึ่งไม่มีความตรัสรู้อื่นในโลกใด ๆ หรือของใคร ๆ จะเทียบได้ ฯ 
       ก็แล ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแก่เราแล้วว่า "กิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลายไม่สามารถจะกำเริบขึ้นมาได้อีกแล้ว จิตของเราได้หลุดพ้นจากกิเลสโดยวิเศษแล้ว ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของเราแล้ว บัดนี้ไม่มีภพเป็นที่เกิดสำหรับเราอีกแล้ว" ฯ 
       ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงความจริง ๔ อย่างอันประเสริฐ อันทำให้ใจห่างไกลจากกิเลสอย่างนี้แล้ว ฯ พระภิกษุปัจจวัคคีย์เหล่านั้น ก็มีความเพลิดเพลินยินดีในธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสแล้วนั้น ฯ  ก็ในเมื่อขณะที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกล่าวแสดงความละเอียดพิศดารแห่งความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการอยู่นั่นแล  ดวงตาคือ ปัญญาอันเห็นธรรม ซึ่งปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดแล้วแก่ท่านโกณทัญญะ ผู้มีอายุอย่างนี้ว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาแล้ว สิ่งนั้น ๆ ทั้งปวง ก็ต้องดับสลายไปเป็นธรรมดา" ฯ  
       ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงประกาศวงล้อแห่งธรรมให้เป็นไปแล้วนั่นแล 
ภูมิเทวดาทั้งหลาย ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า "นั่นคือ วงล้อแห่งธรรมอันยอดเยี่ยม ไม่มีอะไรเทียบได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ซึ่งวงล้อแห่งธรรมอย่างนี้ อันสมณพราหมณ์ ตลอดถึงเทวดา มาร พรหม และใคร ๆ ในโลก ไม่
เทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราช ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าภูมิเทวดาแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ 
เทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์ ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราชแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ 
เทพเจ้าเหล่าชั้นยามา ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์แล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ 
เทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิตได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นยามาแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิตแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดีแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ
เทพเจ้าเหล่าที่เกิดในหมู่พรหม ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัตตีแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า 
       "นั่นคือ วงล้อแห่งธรรมอันยอดเยี่ยม ไม่มีอะไรเทียบได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ซึ่งวงล้อแห่งธรรมอย่างนี้ อันสมณพราหมณ์ ตลอดถึง เทวดา มาร พรหม และใคร ๆ ในโลก ไม่สามารถให้เป็นไปได้" ฯ และโดยขณะเดียวเท่านั้น เสียงก็ดังขึ้นไปถึงพรหมโลกด้วยอาการอย่างนี้ ฯ และเสียงนี้ได้สะท้านสะเทือนหวั่นไหว ดังสนั่นไปตลอดทิศทั้ง ๔ ทั่วทั้งหมื่นโลกธาตุ ฯ อีกทั้งแสงสว่างอันใหญ่ยิ่งไม่มีประมาณ ได้ปรากฏแล้วในโลก ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลายเสียหมด ฯ ในลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเปล่งอุทานขึ้นว่า "โกณทัญญะผู้เจริญได้รู้แล้วหนอ โกณทัญญะผู้เจริญได้รู้แล้วหนอ" ฯ (อัญญาสิ : ได้รู้แล้ว) 
       เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งอุทานขึ้นมาอย่างนี้แล นามว่า "อัญญาโกณทัญญะ" นี้นั่นแหละ ได้มีแล้วแก่พระโกณทัญญะผู้มีอายุ ด้วยประการฉะนี้ แลฯ 

Visitors: 108,241